คำแนะนำจากเพื่อนๆ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขนมไทย

สูตรขนมหวานไทย : ขนมชั้น


เครื่องปรุง + ส่วนผสม ขนมหวานไทย
* แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง

* แป้งท้าวยายม่อม 2 ถ้วยตวง

* น้ำตาลทราย 5 ถ้วยตวง

* น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง

* กะทิ 6 ถ้วยตวง

* น้ำดอกอัญชัญ 2 ช้อนโต๊ะ (หรือน้ำใบเตยคั้นสด, หรือใช้สีผสมอาหารตามแต่สีที่ต้องการ)






วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. นำดอกอัญชันล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นใส่น้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเตรียมน้ำดอกอัญชัญ กรณีต้องการทำสีเขียวจากใบเตย ก็นำเอาใบเตยไปล้างให้สะอาดและนำไปปั่นใส่น้ำและกรองด้วยผ้าขาวบาง กรณีต้องการสีอื่น อาจใช้สีผสมอาหารแทน
2. นำน้ำลอยดอกมะลิไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ผสมน้ำตาลทรายลงไป คนจนละลายดีเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
3. นำแป้งทั้งสองชนิด ผสมกับกะทิ นวดให้เหนียว จากนั้นใส่น้ำลอยดอกมะลิที่ผสมน้ำตาลแล้ว (ขั้นตอนที่ 2) ลงไปผสมให้เข้ากัน
4. แบ่งแป้งที่ผสมแล้วออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งไว้ทำสีขาว และส่วนที่สอง ไว้ทำสีม่วงโดยเติมน้ำดอกอัญชัน (น้ำใบเตยหรือสีผสมอาหาร)ลงไปคนให้เข้ากัน
5. นำถาดที่ต้องการ (หรือแบบพิมพ์ที่เตรียมไว้) ใส่บนลังถึงตั้งบนไฟแรง ๆ พอน้ำเดือดเปิดฝา ตักแป้งสีขาวเทใส่ลงในถาดเกลี่ยให้ทั่วถาดบางที่สุด ปิดฝาเพื่อให้สุกประมาณ 5 นาที เปิดดูแป้งจะมีลักษณะใส จากนั้นตักแป้งสีม่วง (หรือสีที่ผสมลงไป) ใส่ลงไป อีก ทำสลับกันจนแป้งหมด (เคล็ดลับ : ควรใช้ภาชนะที่มีความจุเท่ากันในการตวงแป้งเทแต่ละชั้น เพื่อที่จะได้แป้งที่มีความหนาเท่า ๆ กัน)
6. นึ่งจนขนมสุกทั้งหมด แล้วยกลงทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 2 ชั่วโมงจึงตัดเป็นชิ้นเพื่อเสริฟ (เคล็ดลับ : ก่อนที่จะเทแป้งเพื่อทำชั้นต่อไปทุกครั้ง จะต้องแน่ใจว่าขนมในชั้นล่างนั้นสุกแล้วจริง ๆ ไม่เช่นนั้น แป้งชั้นนั้นจะไม่สุกเลย ถึงแม้จะใช้เวลานึ่งนานเท่าใดก็ตาม)





วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ซึ่งจะนำไปสู่ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ สมดุล มั่นคง และยั่งยืน

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรแกนกลางขึ้นพื้นฐานได้ดังนี้

โดยประยุกต์เข้ากับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี และวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3)

- เริ่มมีการให้เด็กนักเรียนฝึกพึ่งตัวเอง โดยการทำงานเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ
- ให้เด็กความมีระเบียบวินัย และนิสัยการอดออม เช่น ตั้งกฎว่าให้หยอดกระปุกออมสินวันละบาท เพื่อสร้างนิสัยที่สม่ำเสมอ
- ฝึกให้รู้จักการเข้าสังคม โดยการตั้งกฎเกณฑ์การอยู่รวมกัน เพื่อให้เด็กนักเรียนอยู่ร่วมกัน โดยพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อปลูกฝั่งให้เด็กลดนิสัยการเห็นแก่ตัว และการอยุ่ร่วมกันเป็นกลุ่ม

ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6)

- ปลูกฝั่งให้มีความรับผิดชอบ และพึ่งตัวเองมากขึ้น
- เริ่มให้เด็กนักเรียน ทำบัญชีรายรับ - จ่าย อย่างง่ายๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้รู้ว่าตนเองใช้จ่ายไปแต่ละวันเท่าไร
- เริ่มปลูกฝั่งให้เด็กนักเรียนทำงานเป็นหมู่คณะ เพื่อให้เด็กรู้จักรับฟังความคิดเห็นส่วนรวม มากกว่าส่วนตน
- สามารถเลือกบริโภคได้อย่างฉลาด มีเหตุผล ถูกต้องและพอดี

ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)

- ควรปลูกฝั่งให้เด็กรู้จักเรื่องผิดชอบชั่วดีมากขึ้น เพื่อให้เด็กละความชั่วทำแต่ความดี และเดินไปในทางที่ถูกที่ควร
- เด็กรู้จักการวางแผนการดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางที่ถูกที่ควร
- เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน
- เริ่มมีความรู้ความสามารถในการลงทุน การทำงาน เพื่อให้สามารถทำงานหรือใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6)

- มีความรู้ในการเลือกซื้อและผลิตสินค้า เพื่อหารายได้เลี้ยงชีพตนเอง และแบ่งเบาภาระครอบครัว
- มีเหตุผลในการตัดสินปัญหาได้อย่างถูกต้อง และรอบคอบ
- สามารถวางแผนอนาคตของตัวเองได้อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาอย่างรอบคอบ
- สามารถช่วยเหลือคนในสังคม ทำเพื่อประโยชน์ส่้วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่้วนตน
- เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และดำเนินชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกัน เพื่อพัฒนาตนเองเป็นคนดีของสังคม

จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้นั้น ก็เพื่อการพัฒนาทั้งตัวเองและสังคมให้มีความสมดุลและยั่งยืน ซึ่งทั้งนี้การปลูกฝั่งแนวปรัชญาเศรษญกิจพอเพียงนี้ให้แก่เด็กนั้น ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กมีความรับผิดชอบ มีความพอเพียงและภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อพัฒนาตนไปในทางที่ถูกที่ควร

แหล่งที่มาข้อมูล :http://learners.in.th/blog/ittiwat1205/328288

แหล่งที่มารูปภาพ : http://61.19.69.9/~purita/studentwork50/310b/28498/05.html

โครงการตามพระราชดำริ


กองพลพัฒนาที่ ๑ เป็นหน่วยงานพัฒนาของกองทัพบก ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบงานพัฒนาประเทศโดยเฉพาะ ปัจจุบันได้รับมอบภารกิจ ให้รับผิดชอบงานที่สำคัญ ๓ ประการ คือ งานพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานด้านการก่อสร้างเพื่อสนับสนุนงานพัฒนาด้านต่าง ๆ และสุดท้ายคืองานด้านการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนที่ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ

สำหรับงานพัฒนาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและถือว่าเป็นงานที่กองพลพัฒนาที่ ๑ มีความภาคภูมิใจมากที่สุด นั่นก็คือ งานพัฒนาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งกองพลพัฒนาที่ ๑ ได้รับมอบหมายจาก กองทัพภาคที่ ๑ ให้จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ เข้าปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ของจัวหวัดราชบุรี และ จังหวัดเพชรบุรี รวม ๔ โครงการ โดยมีภารกิจหลัก คือ เป็นหน่วยประสานการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานแต่ละโครงการ ดำเนินงานไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

สำหรับโครงการที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ สิริกิติ์ และ โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอสวนผึ้ง ส่วนในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี ๒ โครงการ ได้แก่ โครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย และ โครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียงตามพระราชดำริ

จัดตั้งขึ้นด้วยความจงรักภักดีร่วมกันของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ,กองทัพบก จังหวัดราชบุรี และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อถวายในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบในปี ๒๕๓๕ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชปณิธาน “ ขอให้สร้างป่า โดยมีคนอาศัยอยู่ด้วยโดยไม่ทำลายป่า คือ ต้องช่วยเขาเหล่านั้นจริงๆ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร เช่น มีที่ดิน,ทำกิน, มีน้ำ , ให้การศึกษา ส่งเสริมงานศิลปาชีพต่างๆ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเขาอยู่ได้แล้วเขาจะได้ช่วยดูแลป่า ” อันเป็นที่มาของพื้นที่รวบรวมพันธุ์ไม้ป่า และพื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟู รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของราษฎรในพื้นที่
พื้นที่ดำเนินการของโครงการประกอบด้วย สวนป่าสิริกิติ์ ภาคกลาง ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่บริเวณ แก่งส้มแมว บ้านห้วยม่วง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง มีเนื้อที่ ๓,๐๐๐ ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นผืนป่าแห่งเทือกเขาตะนาวศรีที่กระจายทิวเทือกเขาอย่างสลับซับซ้อนเป็นแนวกั้นเขตแดนไทย – พม่า สภาพโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ดินส่วนใหญ่มีความตื้น สภาพป่าไม้ดั้งเดิมเป็นป่าเต็งรังผสม มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ เต็ง , รัง , รกฟ้า แดง , ประดู่ , มะค่าแต้ ตีนนก ฯลฯ และมีไม้พื้นล่างเป็นไผ่รวก ไผ่เพ็ก

พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามด้วยเกาะแก่งและลวดลายหินกลางลำน้ำ ที่เรียกกันตามพืชพรรณไม้ท้องถิ่นที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นว่า “ แก่งส้มแมว ” สภาพโดยรอบเต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติและพันธุ์ไม้ ซึ่งบัดนี้กลายเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าอันกว้างใหญ่สำหรับผู้รักษ์ป่าและพันธุ์ไม้

และด้วยร่มเงาของป่าที่เติบโต สูงใหญ่ และชุ่มชื้น อันเกิดจากการฟื้นฟูและการปลูกป่า ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ ศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า สมเด็จพระนางเจ้า ฯ สิริกิติ์ แห่งนี้ จึงเป็นแหล่งพักพิงของนกกว่า ๑๐๐ ชนิด เหมาะสำหรับนักดูนกอีกแห่งหนึ่ง อีกทั้งบรรยากาศแห่งธรรมชาติยังเหมาะสำหรับการมาเยี่ยมเยียนของนักท่องเที่ยว ซึ่งแวะเวียนเข้ามาชื่นชมภายในศูนย์ศึกษาพรรณไม้ป่า แห่งนี้ไม่ขาดระยะ

สำหรับพื้นที่สวนป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อีกพื้นที่หนึ่ง ได้แก่พื้นที่ดำเนินการอนุรักษ์ป่าเพื่อจัดทำเป็น “ อุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ” ณ บริเวณบ้านไทยประจัน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ต่อมาเมื่อประมาณปี ๒๕๓๗ คณะทำงานโครงการฯ เห็นว่า ระหว่าง สวนป่าสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ ภาคกลางและอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน มีช่องว่างถ้าหากปล่อยไว้อาจจะทำให้ ราษฎรที่อยู่รอบๆ ป่าผืนนี้บุกรุกพื้นที่ดังกล่าว จึงได้ขอขยายพื้นที่โครงการฯ ที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ อีก ประมาณ ๗๙ , ๗๔๖ไร่ โดยรวมกับพื้นที่ดำเนินการเดิม ๑๓๖ , ๒๕๐ ไร่ ซึ่งรวมพื้นที่ดำเนินการในปัจจุบัน ๒๑๕ , ๙๙๖ ไร่

กองพลพัฒนาที่ ๑ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการอำนวยการและประสานงาน ได้จัดกำลังพล จำนวน ๒๙ นาย และยุทโธปกรณ์ เป็นชุดปฏิบัติการ เพื่อประสานการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ จำนวน ๓ ชุดปฏิบัติการ โดย ชุดปฏิบัติการที่ ๑ มีที่ตั้งอยู่บริเวณ แก่งส้มแมว บ้านห้วยม่วง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง, ชุดปฏิบัติการที่ ๒ มีที่ตั้งอยู่ที่ บ้านไทยประจัน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ และชุดปฏิบัติการที่ ๓ มีที่ตั้งอยู่ที่ บ้านโป่งกระทิง ตำบลบ้านบึง กิ่งอำเภอบ้านคา

แหล่งที่มาข้อมูล :http://www.rta.mi.th/21600u/DATA/praratchadamri.htm

แหล่งที่มารูปภาพ :www.rta.mi.th/21600u/DATA/prarat...

เศรษฐกิจพอเพียง (หลักพึ่งตนเอง)




หลักพึ่งตนเอง


การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ให้ได้ผลในการดำเนินชีวิต เริ่มต้นจากการมีความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ถึงความหมายหลักการสำคัญ และประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่น ทั้งจากการปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

จากการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การตระหนักรู้นี้ จะนำไปสู่การทดลอง นำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง ในการดำเนินชีวิตประจำวันในแง่มุมต่างๆ ซึ่งต้องอยู่บนรากฐานของทางสายกลาง ความพอประมาณและการใช้ สติ – ปัญญา ในการตัดสินใจและการปฏิบัติตน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอควร โดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีในที่สุด

ทั้งนี้ ระดับความพอเพียงของแต่ละบุคคลอาจจะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขของแต่ละบุคคลนั้นๆ