คำแนะนำจากเพื่อนๆ

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ซึ่งจะนำไปสู่ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ สมดุล มั่นคง และยั่งยืน

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับหลักสูตรแกนกลางขึ้นพื้นฐานได้ดังนี้

โดยประยุกต์เข้ากับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี และวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3)

- เริ่มมีการให้เด็กนักเรียนฝึกพึ่งตัวเอง โดยการทำงานเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ
- ให้เด็กความมีระเบียบวินัย และนิสัยการอดออม เช่น ตั้งกฎว่าให้หยอดกระปุกออมสินวันละบาท เพื่อสร้างนิสัยที่สม่ำเสมอ
- ฝึกให้รู้จักการเข้าสังคม โดยการตั้งกฎเกณฑ์การอยู่รวมกัน เพื่อให้เด็กนักเรียนอยู่ร่วมกัน โดยพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อปลูกฝั่งให้เด็กลดนิสัยการเห็นแก่ตัว และการอยุ่ร่วมกันเป็นกลุ่ม

ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6)

- ปลูกฝั่งให้มีความรับผิดชอบ และพึ่งตัวเองมากขึ้น
- เริ่มให้เด็กนักเรียน ทำบัญชีรายรับ - จ่าย อย่างง่ายๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้รู้ว่าตนเองใช้จ่ายไปแต่ละวันเท่าไร
- เริ่มปลูกฝั่งให้เด็กนักเรียนทำงานเป็นหมู่คณะ เพื่อให้เด็กรู้จักรับฟังความคิดเห็นส่วนรวม มากกว่าส่วนตน
- สามารถเลือกบริโภคได้อย่างฉลาด มีเหตุผล ถูกต้องและพอดี

ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)

- ควรปลูกฝั่งให้เด็กรู้จักเรื่องผิดชอบชั่วดีมากขึ้น เพื่อให้เด็กละความชั่วทำแต่ความดี และเดินไปในทางที่ถูกที่ควร
- เด็กรู้จักการวางแผนการดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางที่ถูกที่ควร
- เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน
- เริ่มมีความรู้ความสามารถในการลงทุน การทำงาน เพื่อให้สามารถทำงานหรือใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-ม.6)

- มีความรู้ในการเลือกซื้อและผลิตสินค้า เพื่อหารายได้เลี้ยงชีพตนเอง และแบ่งเบาภาระครอบครัว
- มีเหตุผลในการตัดสินปัญหาได้อย่างถูกต้อง และรอบคอบ
- สามารถวางแผนอนาคตของตัวเองได้อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาอย่างรอบคอบ
- สามารถช่วยเหลือคนในสังคม ทำเพื่อประโยชน์ส่้วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่้วนตน
- เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น และดำเนินชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกัน เพื่อพัฒนาตนเองเป็นคนดีของสังคม

จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้นั้น ก็เพื่อการพัฒนาทั้งตัวเองและสังคมให้มีความสมดุลและยั่งยืน ซึ่งทั้งนี้การปลูกฝั่งแนวปรัชญาเศรษญกิจพอเพียงนี้ให้แก่เด็กนั้น ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กมีความรับผิดชอบ มีความพอเพียงและภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อพัฒนาตนไปในทางที่ถูกที่ควร

แหล่งที่มาข้อมูล :http://learners.in.th/blog/ittiwat1205/328288

แหล่งที่มารูปภาพ : http://61.19.69.9/~purita/studentwork50/310b/28498/05.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น